5 กลยุทธ์ในการแก้ปัญหา ด้วยแนวคิดเชิงนามธรรม

เป็นที่ทราบกันดีว่า แนวคิดเชิงนามธรรม (Abstract Thinking) สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหายากๆ ได้ ซึ่งนักพัฒนาโปรแกรมก็จะใช้แนวคิดเชิงนามธรรม เป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา

กลยุทธที่ 1 คิดแบบกระจาย

สาเหตุที่เราแก้ปัญหาไม่ได้ สาเหตุหนึ่งก็คือการที่เราติดอยู่กับปัญหาใดปัญหาหนึ่ง และเราจมปลักอยู่กับรายละเอียดเหล่านั้น ดังนั้น ให้เราถอยออกจากปัญหา อย่าพยายามคิดถึงรายละเอียดที่เรากำลังติดอยู่ ให้เราคิดถึงภาพรวมของโปรเจค ดูว่าอะไรคือจุดประสงค์ที่สำคัญของโปรเจคนั้น แล้วบทบาทของเราในการทำโปรเจคนั้นคืออะไร โปรเจคที่กำลังทำอยู่นี้มีเป้าหมายอะไร

ถ้าหากเรายังติดอยู่กับรายละเอียดของปัญหาอยู่ จนไม่สามารถคิดถึงภาพรวมของโปรเจคนั้นได้ ให้เราออกไปเดินเล่น หาสิ่งที่ช่วยกระตุ้นสมองให้สามารถคิดแบบกระจัดกระจายมากกว่าจะคิดแบบจดจ่อ ซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการคิดได้

กลยุทธ์ที่ 2 มองปัญหาด้วยมุมใหม่

วิธีที่ง่ายที่สุดในการใช้แนวคิดเชิงนามธรรมในการแก้ปัญหา ก็คือการมองปัญหาในมุมใหม่ๆ เช่น ถ้าเรากำลังทำโปรเจคอยู่สักอย่าง เรามักจะถามตัวเองว่า เราจะเขียนโค้ดเพื่อให้โปรเจคนี้สำเร็จได้อย่างไร

แต่ถ้าเราลองถามตัวเองใหม่ ว่า ทำไมมันถึงทำงานแบบนี้ มันมีวิธีการที่ง่ายกว่านี้ไหม ผู้ที่จะใช้โปรแกรมของเราเป็นใคร เมื่อโปรแกรมของเราสำเร็จแล้วมันจะทำอะไรได้บ้าง เป็นต้น ซึ่งการตั้งถามคำถามหลายๆ แง่มุม อาจทำให้เราไปพบกับวิธีแก้ปัญหาที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน จากมุมเดิมๆ ที่เราเคยมอง

กลยุทธ์ที่ 3 ใช้คำถามว่า “ทำไม” (ใช้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า)

การคิดเชิงนามธรรมมีหลายระดับที่แตกต่างกัน และวิธีที่จะช่วยให้เราใช้ระดับที่สูงขึ้นก็คือการใช้คำถามว่า “ทำไม” เช่น ทำไมโปรเจคของเราต้องมีคุณสมบัติแบบนี้ ทำไมจึงต้องทำงานด้วยวิธีนี้ ทำไมผู้ใช้ถึงต้องการคุณสมบัตินี้ ให้เราถามต่อไปเรื่อยๆ และเราจะค่อยๆ มองปัญหาในภาพที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

กลยุทธ์ที่ 4 มองหารูปแบบ

การคิดเชิงนามธรรม คือการมองเห็นภาพรวม ซึ่งวิธีที่เราจะไปถึงเป้าหมายก็คือการมองหารูปแบบในงานของเรา บางครั้งเราอาจจะเคยประสบปัญหาในลักษณะที่คล้ายกัน พิจารณาว่าปัญหานี้เหมือนหรือแตกต่างจากปัญหาเดิมที่เคยเจอมาก่อนหรือไม่อย่างไร

กลยุทธ์ที่ 5 หลับไปกับมัน

เมื่อทุกอย่างล้มเหล้ว ให้เราหยุดพักจากปัญหา แล้วนอนหลับไปกับมัน ไม่ว่าจะแค่งีบหลับหรือหลับไปทั้งคืนเลยก็ได้ งานวิจัยบอกว่า การนอนหลับจะช่วยขัดขวางความคิดของคุณเมื่อต้องเผชิญปัญหายากๆ และช่วยให้คุณมีความคิดใหม่ๆ และหาทางแก้ปัญหาได้เร็วยิ่งขึ้น ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ ก็คือ โทมัส เอดิสัน เขามักจะงีบหลับในโรงงาน โดยในมือจะถือลูกเหล็กไว้อย่างละข้าง เผื่อว่าเมื่อเขาหลับไป เสียงลูกเหล็กตกพื้นจะช่วยปลุกให้เขาตื่น ทำให้เขาได้กลับมาทำงานด้วยสายตาที่สดใส พร้อมความคิดที่สดใหม่

สรุป

จากที่กล่าวมาเป็นสถานการณ์กลยุทธ์ของนักพัฒนาโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ใช้ในการแก้ปัญหาด้วยแนวคิดเชิงนามธรรม แต่ไม่ว่าใครก็สามารถนำกลยุทธ์นี้ไปใช้ได้เช่นกัน แม้การคิดเชิงนามธรรมจะไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่หลายคนก็พิสูจน์แล้วว่ามันสามารถใช้แก้ปัญหายากๆ ได้จริง

เมื่อวันหนึ่งที่คุณแก้ปัญหายากๆ ได้ คุณจะขอบคุณการคิดเชิงนามธรรม

ที่มา https://www.7pace.com/blog/abstract-thinking-exercises

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *