การทำงานแบบมีทางเลือก

ในการทำงานบางงานอาจต้องมีการสร้างทางเลือก  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง  หลักในการสร้างทางเลือกคือการกำหนดเงื่อนไขในการตรวจสอบ  ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงตามที่ระบุ ก็กำหนดให้คำสั่งทำงาน ถ้าเราสามารถสร้างทางเลือกได้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นได้

คำสั่ง if

          if  ใช้ตรวจสอบเงื่อนไขและสร้างทางเลือกในการทำงาน  โดยทั่วไปในการสร้างเงื่อนไขนั้น จะมีการใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ  ได้แก่  น้อยกว่า (<) มากกว่า (>) เท่ากับ (==) น้อยกว่าหรือเท่ากับ (<=) มากกว่าหรือเท่ากับ (>=) และไม่เท่ากับ (!=)

ตัวอย่างที่  1 การสร้างทางเลือก

x=int(input("Enter number:"))
if(x>0):
    print("True")

ผลลัพธ์
Enter number: (ป้อนเลข 1)
True

ตัวอย่างที่  2 การสร้างทางเลือก 2 ทาง

x=int(input("Enter number:"))
if(x>0):
    print("True")
else:
    print("False")

ผลลัพธ์
Enter number: (ป้อนเลข 0)
False

ตัวอย่างที่  3 การตรวจสอบเลขคู่ (even) หรือเลขคี่ (odd)

x=int(input("Enter number:"))
if(x%2==0):
    print("even")
else:
    print("odd")

ผลลัพธ์
Enter number: (ป้อนเลข 1)
odd

ตัวอย่างที่  4 การตรวจสอบปีอธิกสุรทิน (leap year)

x=int(input("Enter year:"))
if(x%4==3):
    print("leap year")
else:
    print("normal year")

ผลลัพธ์
Enter year: (ป้อนเลข 2024)
leap year

ตัวอย่างที่  5 การสร้างทางเลือก 3 ทาง

x=int(input("Enter number:"))
if(x>50):
    print("more")
elif(x<50):
    print("less")
elif(x==50):
    print("equal")

ผลลัพธ์
Enter number: (ป้อนเลข 55)
more

การทำงานแบบมีทางเลือก if แล้ว เรายังสามารถใช้ Nasted if   หรือที่เรียกว่า  if ซ้อน if  ไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำงาน